อุตสาหกรรมการบินเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงเสมอมา ทุกสายการบินพยายามอย่างต่อเนื่องในการดึงดูดลูกค้า อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างส่งผลให้สายการบินต้องเผชิญกับความท้าทายที่มากกว่าที่เคยเป็นมา ดังนั้นการดำเนินตามแผนกลยุทธ์ไม่เพียงแต่เพื่อความอยู่รอดเท่านั้น แต่ยังเพื่อการรักษาความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนอีกด้วย โดยวิธีการที่สายการบินอาจจะนำมาใช้ ได้แก่
การยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า (Enhancing Customer Experience)
สายการบินจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง ตัวอย่างกลยุทธ์
เสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล (Offering Personalized Services) เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า สายการบินสามารถนำเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล เช่น รายการอาหาร ตัวเลือกความบันเทิง และการบริการเสริมพิเศษ ด้วยการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า และให้บริการที่ปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคล สายการบินสามารถสร้างประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครให้กับลูกค้าของตนได้
การใช้เทคโนโลยี (Implementing Technology) สายการบินยังสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสบการณ์ของลูกค้า ตัวอย่างเช่น สายการบินสามารถใช้แชทบอทที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อให้บริการลูกค้า ซึ่งสามารถปรับปรุงเวลาตอบสนอง และให้คำแนะนำที่เป็นส่วนตัวแก่ลูกค้าได้
การลดต้นทุน (Reducing Costs)
กลยุทธ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับสายการบินเพื่อความอยู่รอด และได้รับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนคือการลดต้นทุน เช่น
การใช้เครื่องบินประหยัดเชื้อเพลิง (Using Fuel-Efficient Aircraft) ค่าเชื้อเพลิงเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสายการบิน การใช้เครื่องบินที่ประหยัดน้ำมัน สายการบินสามารถลดต้นทุนเชื้อเพลิงและปรับปรุงผลกำไรได้ เครื่องบินที่ประหยัดเชื้อเพลิงที่สุดบางลำที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ Boeing 787 Dreamliner และ Airbus A350
ลดต้นทุนค่าโสหุ้ย (Reducing Overhead Costs) สายการบินยังสามารถลดต้นทุนค่าโสหุ้ยได้ด้วยการใช้มาตรการต่างๆ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน และลดขนาดพื้นที่ของสำนักงาน เป็นต้น
การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Improving Operational Efficiency)
การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นอีกกลยุทธ์สำคัญสำหรับสายการบินเพื่อความอยู่รอด และรักษาความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
การปรับเส้นทางการบินให้เหมาะสม (Optimizing Routes) สายการบินสามารถปรับเส้นทางให้เหมาะสมเพื่อลดเวลาการบิน ประหยัดเชื้อเพลิง และเพิ่มผลกำไร ด้วยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง สายการบินสามารถระบุเส้นทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและปรับเปลี่ยนตารางการบินได้อย่างเหมาะส
เปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Embracing Digital Transformation) สายการบินยังต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น การใช้โซลูชั่นดิจิทัลสำหรับการเช็คอินผ่านมือถือ และบัตรโดยสาร (Boarding Pass) อิเล็กทรอนิกส์ สายการบินต่างๆ สามารถลดเวลาในการรอ และปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าโดยรวม
การดำเนินงานบนมาตรฐานความยั่งยืน (Embracing Sustainability)
ในโลกปัจจุบัน ความยั่งยืนมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ และสายการบินจำเป็นต้องยอมรับแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนเพื่อความอยู่รอดและได้รับความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน เช่น
การใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืน (Using Sustainable Fuels) หนึ่งในวิธีที่สำคัญที่สุดที่สายการบินสามารถสร้างความยั่งยืนได้คือ การใช้เชื้อเพลิงทางเลือกที่ลดการก่อมลพิษ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งผลิตจากแหล่งหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช และไขมันสัตว์ ด้วยการใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืน สายการบินสามารถลดปริมาณคาร์บอน และนำไปสู่การดำเนินการตามหลักการของความยั่งยืนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
ลดขยะ (Reducing Waste) สายการบินยังสามารถลดของเสียได้ด้วยการใช้มาตรการต่างๆ เช่น การใช้วัสดุที่รีไซเคิลได้สำหรับผลิตภัณฑ์บนเครื่องบิน การลดปริมาณพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และการดำเนินโครงการลดของเสีย เป็นต้น
ในปัจจุบัน การบริหารความยั่งยืน (Sustainability) กลายเป็นบทบาทสำคัญในธุรกิจการบินในทศวรรษ 2563 เนื่องจากการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจ โดยปัจจัยภายนอก (External Environmental Factors) ที่ผลักดันให้องค์กรต่างๆ และสายการบิน ต้องหันมาให้ความสนใจกับเรื่องความยั่งยืน สามารถจำแนกออกได้ดังนี้
การรับรู้ถึงปัญหาสภาพอากาศ
ความกดดันจากนโยบายรัฐบาลและข้อกำหนดทางกฎหมาย
ความต้องการของผู้บริโภค
การแข่งขันในอุตสาหกรรม
นวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าในทศวรรษ 2563 ปัญหาสภาพอากาศกลายที่เปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้รัฐบาลหลายประเทศได้กำหนดนโยบาย และกฎหมายที่เข้มงวดขึ้นเพื่อจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้มาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการสนับสนุนเชื้อเพลิงทางเลือก ในแต่ละปีนั้นมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) จำนวนประมาณ 42 พันล้านตันที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์และถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ โดยก๊าซ CO2 จำนวนร้อยละ 3 นั้นเกิดมาจากการดำเนินการของอุตสาหกรรมการบิน
กลับมาในด้านการบินในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจำนวนผู้โดยสารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีการบินที่มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาเครื่องยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเลือกใช้เชื้อเพลิงทางเลือก ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมการบินสามารถควบคุม Carbon Footprint ให้ไม่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
จากการวิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค พบว่าในปัจจุบันผู้บริโภคมีความตระหนัก และสนใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น การเลือกใช้บริการของสายการบินที่มีนโยบาย และการดำเนินการที่เน้นความยั่งยืนกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของผู้บริโภค ดังนั้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม สายการบินต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน การมีผู้จัดการด้านความยั่งยืนที่มีความสามารถจะช่วยให้องค์กรสร้างแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสังคม ดังนั้นผู้จัดการด้านความยั่งยืนจึงมีบทบาทในการช่วยบริษัทให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และนโยบายเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีผู้จัดการด้านความยั่งยืนช่วยให้สายการบินสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการวางแผน และการดำเนินการที่มุ่งเน้นไปที่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
รูปแบบในการบริหารจัดการ (Manager Styles)
Manager Styles
1. Autocratic
2. Democratic
3. Laissez-faire
4. Transformational
Autocratic Manager
มีสไตล์การจัดการที่ผู้นำมีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจและคาดหวังการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดจากลูกน้อง มักใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการความเร็วและความแน่นอนในการตัดสินใจ
Democratic Manager
ผู้นำให้โอกาสทีมในการแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และการสื่อสารที่เปิดกว้าง
Laissez-faire Manager
ผู้นำให้ความอิสระกับทีมในการตัดสินใจ และการดำเนินงาน ใช้เมื่อทีมมีความสามารถ และมีความรับผิดชอบสูง
Transformational Manager
ผู้นำมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาทั้งองค์กรและบุคคล ส่งเสริมการเรียนรู้ นวัตกรรม และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Sustainability Manager – ผู้จัดการด้านความยั่งยืน
ผู้จัดการด้านความยั่งยืน คือผู้ที่รับผิดชอบในดำเนินการกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในองค์กร รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากร ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
ลักษณะของผู้จัดการด้านความยั่งยืน
มีวิสัยทัศน์ และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
มีความสามารถด้านการเป็นผู้นำ และสามารถสื่อสารกับผู้คนในทุกระดับ
มีความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
มีความสามารถในการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาเชิงความยั่งยืน
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดการด้านความยั่งยืนกับ SDGs
ผู้จัดการด้านความยั่งยืนมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของ SDGs ในการช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจ และนำไปสู่การดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs เหล่านี้ โดยการนำแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าสู่กลยุทธ์และการดำเนินงานขององค์กร ทำให้องค์กรสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
Sustainability Manager in Aviation Industry
ปัจจุบันมีสายการบินหลายแห่งที่มีตำแหน่งผู้จัดการด้านความยั่งยืน (Sustainability Manager) หรือคล้ายคลึงกันในองค์กร เนื่องจากความตระหนักที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความจำเป็นในการดำเนินงานที่ยั่งยืน สายการบินต่างๆ ได้เริ่มให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากร และกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
การบริหารความยั่งยืนกลายเป็นบทบาทสำคัญในธุรกิจการบินยุคหลัง COVID-19 เนื่องจากมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม บทบาทของผู้จัดการด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบินจึงมีความสำคัญมากขึ้น ดังนั้น การมีผู้จัดการด้านความยั่งยืนในองค์กรจึงกลายเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมการบิน และเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
留言