top of page
Writer's pictureSathaworn

พฤติกรรมการเดินทาง และทัศนคติต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวคนพิการ

Updated: Jun 1, 2023

พฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวคนพิการจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะหลีกเลี่ยงการมองว่าคนพิการเป็นกลุ่มเดียวกันกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ๆ ผู้ประกอบการควรพิจารณาคุณลักษณะ ทัศนคติ และพฤติกรรมของแต่ละบุคคลเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมการเดินทางของพวกเขาเหล่านี้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเข้าใจพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวคนพิการในรูปแบบต่าง ๆ ของการคมนาคม ดังนั้น บทความนี้จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อเป็นการวิเคราะห์ และศึกษาถึงพฤติกรรม และทัศนคติของนักท่องเที่ยวคนพิการในการเดินทางในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการเดินทางทางอากาศ


คำจำกัดความของ “ความพิการ” และ “ทุพพลภาพ”

ความพิการ (Disability) หมายถึง ข้อจำกัดทั้งหลายที่ทำให้ประชากรประเทศใดประเทศหนึ่งไม่อาจทำหน้าที่ของตนเองได้ อันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า คนเราอาจจะพิการได้จากสาเหตุความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา หรือประสาทสัมผัส หรือจากสภาพการณ์ด้านการแพทย์ หรืออาการเจ็บป่วยทางจิต ที่กล่าวมานี้อาจมีลักษณะถาวรก็ได้ หรือเกิดจากขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นก็ได้


ทุพพลภาพ (Handicap) หมายถึง การสูญเสียโอกาส หรือการถูกจำกัดโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในวิถีทางของชุมชนในระดับที่เท่าเทียมกับคนอื่น ๆ ซึ่งสื่อให้เห็นถึงการเผชิญหน้าของคนพิการกับสิ่งแวดล้อม


ผลกระทบของ COVID-19 ต่อพฤติกรรมการเดินทาง

ในมิติของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 และผลกระทบต่อทัศนคติ และพฤติกรรมการเดินทางของผู้คนนั้น พบว่า นักท่องเที่ยวเปลี่ยนจากการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นรูปแบบที่มีความส่วนตัวมากกว่า เนื่องจากนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในด้านสุขภาพเมื่อต้องเลือกรูปแบบการเดินทาง ซึ่งในช่วงการระบาดนั้น ทั้งผู้ทุพพลภาพ และไม่ทุพพลภาพมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของ COVID-19 ต่อสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สัดส่วนของผู้ที่ “วิตกกังวลมาก” นั้นต่ำกว่าสัดส่วนในเดือนกันยายน 2563 โดยมีสัดส่วนของผู้ที่มีความวิตกกังวลมีความใกล้เคียงกับช่วงก่อนหน้าของการระบาดในช่วงเดือนกรกฎาคม และพฤษภาคม 2563 แสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวเริ่มคลายกังวลต่อเรื่องการแพร่ระบาดของ COVID-19 แล้วนั่นเอง


เพื่อประเมินผลกระทบของ COVID-19 ต่อทัศนคติของ และพฤติกรรมการเดินทาง นักวิจัยได้จัดทำแบบสำรวจ โดยมีเป้าหมายเพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางและค้นหาว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น ผลการวิจัยพบว่าผู้คนจะเดินทางต่อไป แต่จะมีแนวโน้มการใช้รถยนต์น้อยลง อย่างไรก็ตาม พวกเขามีแนวโน้มที่จะเดินทางโดยรถประจำทางมากขึ้น


ผลการศึกษายังพบว่า COVID-19 ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการเดินทางเชิงกิจกรรมทั่วโลก ผลกระทบต่อพฤติกรรมการเดินทางเชิงกิจกรรม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเดินทางตามปกติที่ลดลง และการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) ที่เพิ่มขึ้น สิ่งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเดินทางของกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการทำงานทางไกล การเรียน และการช็อปปิ้งผ่านอินเทอร์เน็ต ในหลายประเทศ การทำงานในสำนักงานแบบเดิม ๆ ถูกแทนที่ด้วยการทำงานทางไกล ในขณะที่การซื้อของในร้านค้าอาจลดลง


ครอบครัวที่มีรายได้สูงจะมีความยืดหยุ่นสูงในแง่ของที่อยู่อาศัย และรูปแบบการเดินทาง พวกเขาอาจพยายามเปลี่ยนที่อยู่อาศัยหากพวกเขาถูกบังคับให้ต้องเดินทางด้วยวิธีที่ไม่พอใจ สิ่งนี้อาจส่งผลดีต่อทัศนคติของพวกเขาที่มีต่อการเดินทางและการใช้ชีวิต


พฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวคนพิการ

การระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วไปและส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการเดินทางของผู้คน ในความทรงจำของชีวิตที่น่าทึ่งที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนพิการนั้นได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น


กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2555) ได้จําแนกประเภทของความพิการไว้ 7 ประเภท คือ 1) ความพิการทางการมองเห็น 2) ความพิการทางการได้ยิน 3) ความพิการทางการเคลื่อนไหว 4) ความพิการทางจิตใจ 5) ความพิการทางออทิสติก 6) ความพิการทางสติปัญญา และ 7) ความพิการทางสติปัญญา ทั้งนี้จํานวนคนพิการในประเทศไทยมีจํานวน 2,2027,500 คน โดยจํานวนคนพิการที่สูงที่สุด 3 อันดับแรกคือ คนพิการทางการเคลื่อนไหว คนพิการทางการได้ยิน และคนพิการทางการมองเห็นตามลําดับ


ผู้พิการมีรูปแบบการเดินทางที่แตกต่างจากประชากรทั่วไปอย่างมาก และรูปแบบความต้องการเดินทางหลักมักจะไม่ค่อยให้ความสนใจกับผู้โดยสารกลุ่มนี้ มีงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทาง ระบุว่าผู้คนเดินทางในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2564 น้อยกว่าในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2563 ถึงแม้ว่าตัวเลขจะแสดงให้เห็นว่าระดับการเดินทางของผู้โดยสารด้วยรถยนต์ยังคงใกล้เคียงกัน แต่จำนวนเที่ยวรถลดลง ส่งผลให้การใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางลดลง นอกจากนี้ ผู้ทุพพลภาพที่ไม่มียานพาหนะส่วนตัว หรือไม่สามารถทำการขับขี่ได้ การขนส่งในชุมชนมีความสำคัญมาก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเข้าถึงการคมนาคมจะมีความสำคัญ แต่ความหลากหลายของตัวเลือกการขนส่งต่าง ๆ ที่ผู้พิการสามารถใช้ได้นั้นไม่เพียงพอ ส่งผลให้บุคคลเหล่านี้มีโอกาสน้อยที่จะเลือกรูปแบบการเดินทางเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีความบกพร่อง


ตัวอย่างเช่น ผู้พิการที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทมีแนวโน้มที่จะไม่เคยใช้ระบบขนส่งสาธารณะเมื่อเทียบกับผู้ที่อยู่ในเขตเมือง ในภาพรวม หน่วยงานรัฐ และเอกชนจำเป็นต้องให้ความสำคัญ และจัดเตรียมระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนคนพิการที่ไม่สามารถขับรถได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทที่เข้าถึงการขนส่งสาธารณะได้มีความจำกัด


งานวิจัยฉบับหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าผู้พิการมีความเสี่ยงมากที่สุดเมื่อพวกเขาออกไปนอกสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเนื่องจากตัวเลือกการเคลื่อนย้ายนั้นมีจำกัด ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงไม่มีโอกาสเดินทางไปไหนมาไหนมากนักในช่วงการแพร่ระบาท ตามสถิติของสำนักงานสถิติการขนส่งแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่าผู้พิการจำนวน 3.6 ล้านคนไม่ออกจากบ้าน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 70 ลดระยะเวลาที่พวกเขาใช้เดินทางในชีวิตประจำวันลง



พฤติกรรมการเดินทาง ทางอากาศ ของนักท่องเที่ยวผู้พิการ

สำหรับการเดินทางทางอากาศนั้น ผู้พิการจะมีประสบการณ์เชิงบวกกับสนามบินที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเฉพาะสำหรับพวกเขา อย่างไรก็ตาม บางคนอาจไม่ทราบถึงการมีอยู่ของสิ่งอำนวยความสะดวก หรืออาจคิดว่าไม่เหมาะสมสำหรับบริการเหล่านั้น ด้วยเหตุดังกล่าว ทางสนามบิน และสายการบินจำเป็นต้องปรับปรุงการสื่อสารเพื่อให้แน่ใจว่านักท่องเที่ยวผู้พิการสามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ ตัวอย่างการปรับปรุงบางส่วน ได้แก่ การกำหนดพื้นที่เงียบสงบของสนามบินที่ช่วยแยกผู้ดูแล (Caretakers) ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้พิการ และผู้พิการออกจากบริเวณที่มีเสียงดังภายในสนามบิน แม้ว่าพื้นที่เหล่านี้จะเป็นเรื่องธรรมดาที่สนามบินทั่วโลกมี แต่ผู้เดินทางจำนวนมากยังคงพบว่าการหาที่เงียบสงบในสนามบินนั้นเป็นไปได้ยาก นอกจากกนี้ ผกลุ่มนักเดินทางที่มีปัญหาในการมองเห็น และการได้ยินยังต้องเผชิญปัญหาในการทำความเข้าใจต่อคำพูดประกาศ ป้ายประกาศ และป้ายบอกทางภายในสนามบิน และบนเครื่องบิน


เป็นที่น่าเสียใจที่ผู้พิการนั้นไม่ได้รับความใส่ใจอย่างเพียงพอในรพหว่างการเดินทาง ผลการวิจัยโดย ผศ.ดร. กัลยา สว่างคง พบว่าสภาพปัญหาในการจัดนําเที่ยวให้คนพิการแบ่งออกได้เป็น 1) การขาดความรู้และทักษะต่าง ๆ ในการสื่อสารและดูแลคนพิการแต่ละประเภท 2) การไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยอํานวยความสะดวกระหว่างการเดินทาง และ 3) จํานวนมัคคุเทศก์ไม่เพียงพอต่อการดูแลนักท่องเที่ยวคนพิการ


นักท่องเที่ยวคนพิการหลายคนมีประสบการณ์ที่ไม่น่าจดจำเท่าใดนักในสนามบิน และบนเครื่องบิน บางคนถูกปล่อยให้ยืนรอโดยไม่มีเก้าอี้ หรือไม่ก็ต้องรอคิวห้องน้ำเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ผู้พิการจำนวนมากไม่สามารถทำการเดินทางในเที่ยวบินที่ใช้เวลานานเนื่องจากไม่สามารถใช้ห้องน้ำได้ระหว่างการเดินทาง บางกรณี ผู้พิการต้องเดินทางโดยใช้รถประจำทางที่ติดตั้งทางเลื่อนไว้สำหรับการขึ้น-ลงรถเท่านั้น ทำให้การเดินทางไปหรือกลับจากสนามบินเป็นไปด้วยความลำบาก และมีความจำกัดเป็นอย่างมาก เป็นต้น แบบสำรวจพบว่าผู้เดินผู้พิการรู้สึกกังวลที่จะบิน หมายความว่าอย่างน้อยในระยะอันใกล้ ตลาดกลุ่มผู้พิการที่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเดินทางแต่ละครั้งสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปอยู่ที่ 1.16 เท่านี้ ซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโต อาจไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ ซึ่งในความเป็นจริง อาจต้องการการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมสายการบินมากกว่าที่เป็นอยู่


มาในด้านบวกบ้าง ผลการสำรวจพบว่าสัดส่วนที่ค่อนข้างใหญ่ของผู้โดยสารสูงอายุ (Silver Generation) ยังคงวางแผนเดินทางทางอากาศในปี 2565 นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่ากลุ่มผู้โดยสารสูงอายุจำนวนกว่าร้อยละ 60 วางแผนจะเดินทางโดยเครื่องบินภายใน 12 เดือนข้างหน้า สำหรับช่องทางในการซื้อนั้น ผู้โดยสารสูงอายุจำนวนร้อยละ 40 นิยมจองทริปผ่านเว็บไซต์บริษัทท่องเที่ยวออนไลน์ ตามด้วย ร้อยละ 23 เลือกใช้บริการจากตัวแทนท่องเที่ยวแบบดั้งเดิม และ ร้อยละ 21 ทำการจองผ่านสายบริการลูกค้าของตัวแทนท่องเที่ยวแบบดั้งเดิม ในส่วนของการใช้บริการบริษัทนำเที่ยวออนไลน์มีจำนวนค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 17 มีการใช้เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของโรงแรมในเครือ ร้อยละ 14 ใช้สายด่วนเครือโรงแรม) บริษัทท่องเที่ยวอาจต้องการปรับกลยุทธ์เพื่อให้สามารถทำการบริการนักเดินทางกลุ่มนี้ได้ดีที่สุด ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวคนพิการและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย


อ้างอิง

  • บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ เรื่อง สิทธิคนพิการและทุพพลภาพ

  • การศึกษาสภาพปัญหาในการจัดนําเที่ยวและความต้องการพัฒนาทักษะของมัคคุเทศก์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคนพิการ

  • Swangkong, K. (2023). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวสำหรับคนพิการในประเทศไทย: การวิเคราะห์และ สังเคราะห์องค์ความรู้จากการวิจัย. Journal of Administration and Social Science Review, 6(1), 105-116.

  • https://etrr.springeropen.com/articles/10.1186/s12544-022-00559-w 0

  • https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0047287509336477 1

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9397779/ 2

  • https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/01441647.2022.2060371 3

  • https://www.mckinsey.com/industries/travel-logistics-and-infrastructure/our-insights/outlook-for-china-tourism-in-2022-trends-to-watch-in-uncertain-times 4

  • https://www.gov.uk/government/collections/statistics-on-public-attitudes-to-transport 5

  • https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fresc.2022.877555/full 6

  • https://www.oneyoungworld.com/blog/10-ways-make-society-more-inclusive-people-disabilities 4

  • https://www.transportation.gov/individuals/aviation-consumer-protection/public-meeting-air-travel-persons-who-use-wheelchairs 5

  • https://ncd.gov/publications/1999/feb261999 6

  • https://adata.org/guide/ada-national-network-disability-law-handbook 7

Comments


bottom of page