โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicles: UAVs) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เรามองเห็นโลกในมุมที่แตกต่างไปจากที่เราเคยรู้มา โดรนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถควบคุมได้โดยใช้รีโมทคอนโทรล หรือระบบควบคุมที่ทำงานอิสระ
ตาม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้
“อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” หมายความว่า อากาศยานที่ควบคุมการบินโดยผู้ควบคุมการบินอยู่ภายนอกอากาศยานและใช้ระบบควบคุมอากาศยาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครื่องบินเล็กซึ่งใช้เป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวงกำหนดวัตถุซึ่งไม่เป็นอากาศยาน พ.ศ. ๒๕๔๘
ประเภทของโดรน
โดรน มีหลายประเภท และหลายรูปแบบ โดยรูปแบบของโดรนอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการออกแบบ ขนาด แหล่งพลังงาน หรือวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดรนหลายใบพัด (Multi-rotor drones) เป็นประเภทโดรนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับการใช้งานด้านสันทนาการ และธุรกิจ ในขณะที่โดรนแบบปีกคงที่ (Fixed-wing drones) นั้นเหมาะสำหรับการบินระยะไกล โดรนโรเตอร์เดี่ยว (Single-rotor drone) เป็นโดรนประเภทพื้นฐานที่ใช้เพียงโรเตอร์เดียว เช่น ยานพาหนะใต้น้ำควบคุมระยะไกลสำหรับการเฝ้าระวัง หรือการสำรววจใต้น้ำ โดรนทางยุทธวิธี (Tactical drones) ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ทางทหาร ในขณะที่เครื่องบิน eVTOL ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ทางอากาศในเมือง
โดรน สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้คร่าวๆ ดังนี้
Rotary Wing Drones
Fixed Wing Drones
Fixed Wing Hybrid Vertical Takeoff and Landing Drones
Underwater Remotely Operated Vehicles
Single-Rotor Drones
Multi-Rotor Drones
Fixed-Wing Drones
Fixed-Wing Hybrid Drones
Small Drones
Micro Drones
Tactical Drones
Quadcopters (4 rotors)
Hexacopters (6 rotors)
Octocopters (8 rotors), also known as octo-rotors
Helicopter Drones
eVTOL (electric vertical takeoff and landing) Aircraft
High Altitude Long Endurance (HALE) Drones
ประโยชน์ของโดรน
โดรน มีประโยชน์หลากหลายทั้งในอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ การวิจัยและการพัฒนา ตลอดจนการบันทึกภาพยนตร์และการถ่ายภาพ อาทิเช่น โดรนสำหรับการสำรวจที่ดิน โดรนสำหรับการติดตามสภาพอากาศ โดรนสำหรับการจัดส่งสินค้าและอื่น ๆ อีกมากมาย
ทิศทางการกำกับดูแลการใช้ Drone ของไทย
อย่างไรก็ตาม การใช้งานโดรน ยังมีความท้าทายที่ต้องจัดการ เช่น ปัญหาเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว การจัดการอากาศยานไร้คนขับ และการใช้งานในพื้นที่ที่มีความซับซ้อน เราต้องพัฒนานโยบายและแนวทางที่ชัดเจนในการใช้งานโดรนอย่างที่ควรจะเป็น
สำหรับประเทศไทยนั้น เรามีพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 เป็นกฎเกณฑ์ที่ออกมาเพื่อใช้บังคับกับอากาศที่มีคนขับ ซึ่งต่อมามีข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 94 ว่าด้วยการจราจรทางอากาศ และประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาต และเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานซึ่งควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ.2558 ซึ่งได้บัญญัติถึงกฎเกณฑ์โดยกว้างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติการบินและการแบ่งประเภทของอากาศยานไร้คนขับ
ประเทศไทยได้มีการนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ตั้งแต่สมัยสงครามร่มเกล้าซึ่งเป็นสงครามระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีการจัดหาอากาศยานไร้คนขับจากประเทศอังกฤษเข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 โดยเป็นการใช้งานทางการทหาร และความมั่นคงของชาติ (Military & National Security) โดยยึดหลักความต้องการใช้งานของแต่ละกองทัพ เช่น
กองทัพบกต้องการอากาศยานไร้คนขับในระดับทางยุทธวิธี (Tactical UAV)
กองทัพเรือต้องการอากาศยานไร้คนขับที่สามารถขึ้นลงทางดิ่ง สามารถลงจอดบนเรือได้ ใช้ในการลาดตระเวนของกองเรือ (Vertical Takeoff and Landing Tactical UAV)
กองทัพอากาศต้องการอากาศยานไร้คนขับแบบติดอาวุธเพื่อใช้ในการโจมตีหรือชี้เป้าหมาย CUAV (Combat UAV)
สำหรับภารกิจด้านกิจการพลเรือนั้นน มีการใช้กิจกรรมในหลายด้าน เช่น
ด้านการเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) หรือเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture)
ด้านการทำแผนที่และการสำรวจ (Mapping & Survey)
ด้านการเฝ้าระวังและตรวจสอบความปลอดภัย (Surveillance & Monitoring)
ด้านการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Management) หรือการจัดการภัยพิบัติ (Disaster Management)
ด้านความบันเทิง (Entertainment) เป็นต้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีความรู้ ความชำนาญ รวมไปถึงการนำระบบจัดการจราจรทางอากาศของโดรนมาใช้งานเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานอากาศยานไร้คนขับ
เรื่องควรรู้ก่อนการใช้โดรนในประเทศไทย
โดรนที่ต้องลงทะเบียน
ติดตั้งกล้องบันทึกภาพต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี
น้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี ทั้งแบบติดตั้งกล้อง และไม่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพ
โดรนที่มีน้ำหนักเกิน 25 กก. (ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)
*หนังสือการขึ้นทะเบียนโดรนมีอายุ 2 ปี ตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ
*บทลงโทษ ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 มาตรา 24 ประมวล มาตรา 78 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สถานที่ในการลงทะเบียนโดรน
กสทช. สำหรับขออนุญาตใช้คลื่นความถี่โดรน
CAAT ขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโครน
เอกสารในการลงทะเบียนโดรน
กรอกขอขึ้นทะเบียนฯ ที่ https://uav.caat.or.th/faq/
สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
ใบรับรองตนเอง https://uav.caat.or.th/download.php
ประกันภัยบุคคลที่ 3
ภาพถ่ายโดรนทั้งลำ และภาพถ่าย Serial Number ของโดรน
รายละเอียดเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียน
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขอขึ้นทะเบียน
สามารถติดตามสถานะการขึ้นทะเบียนได้โดยการ Sign in ด้วย User ของผู้ขอ โดยกรอก Email และ Password ที่ได้ลงทะเบียนไว้ตอนแรกและกด Submit
กรณีขึ้นทะเบียนผ่านผู้รับมอบอำนาจ ต้องสอบถาม Username และ Password ของผู้ขอ จาก บุคคลดังกล่าวเท่านั้น CAAT ไม่รับผิดชอบต่อ Username และ Password ที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำแทนผู้ขอ
หากต้องการยกเลิกการลงทะเบียน สามารถส่งคำขอยกเลิกมาที่ Email: uav@caat.or.th โดยระบุข้อมูลชี้แจงเหตุผลการขอยกเลิกหนังสือขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินฯ โดย เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (พร้อมลงลายมือชื่อ) และระบุข้อความสำคัญดังนี้
1) ชื่อผู้ขอขึ้นทะเบียนผู้บังคับฯ เดิม
2) เลขที่คำร้องในระบบ และเลขที่หนังสือการขึ้นทะเบียนฯ ที่ได้รับจาก CAAT
3) รายละเอียดอากาศยาน ได้แก่ ยี่ห้อ รุ่น และ Serial Number
4) เหตุผลของการขอยกเลิก พร้อมลงลายมือชื่อในหนังสือชี้แจงเหตุผลการขอยกเลิกฯ
5) แนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยกเลิก พร้อมรับรองสำเนาโดยระบุเพื่อใช้สำหรับการ “ขอยกเลิก
หนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินฯ กับ CAAT”
6) แนบหนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินฯ ที่ได้รับจาก CAAT
7) แนบสัญญาซื้อขาย (ในกรณีที่ยกเลิกเนื่องจากซื้อขาย)
ข้อปฏิบัติระหว่างทำการบินโดรน
ห้ามบินหลังพระอาทิตย์ตกดิน
ห้ามบินใกล้อากาศยานที่มีนักบิน
ห้ามบินเข้าใกล้เมฆ
ห้ามบินโดยก่อให้เกิดความเดือนร้อน รำคาญแก่ผู้อื่น
ห้ามบินสูงเกิน 90 เมตรนับจากพื้นดิน และห้ามบินในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง น้อยกว่า 30 เมตร
ห้ามบินภายในระยะ 9 กม. จากสนามบิน เว้นแต่ได้รับอนุญาต
ห้ามบินในเขตหวงห้าม เช่น สถานที่ราชการ โรงพยาบาล เว้นแต่ได้รับอนุญาต
ห้ามบินโดยก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียด และเอกสารสำหรับขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานโครน https://uav.caat.or.th/faq/
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้โดรน https://www.caat.or.th/th/archives/39685
คำถามที่พบบ่อย https://uav.caat.or.th/faq/
แนวโน้มของการใช้งานโดรนในอนาคต
การใช้โดรนคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2566 นี้ โดยมีแนวโน้ม และการคาดการณ์ที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรม โดรน พอสรุปได้ดังนี้
ยอดจัดส่งโดรนทั่วโลกคาดว่าจะสูงถึง 2.4 ล้านลำในปี 2566 เพิ่มขึ้นที่อัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) 66.8%
โดรนจะสามารถบินได้นานขึ้น ต้องขอบคุณแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และระบบการชาร์จที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เช่น การชาร์จแบบไร้สาย และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ความก้าวหน้าในการจัดการจราจรทางอากาศสำหรับอากาศยานไร้คนขับ (UTM) คาดว่าจะช่วยทำให้การบินโดรนเป็นที่นิยมมากขึ้น จากความสามารถในการกำหนดเส้นทางบินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการพัฒนารูปแบบการสื่อสารระหว่างยานพาหนะกับยานพาหนะ (Vehicle-to-Vehicle: V2V) และการสื่อสารระหว่างโดรนกับโดรน (Drone-to-Drone)
คาดว่าการใช้การสื่อสารระหว่างโดรนกับโดรน (Drone-to-Drone) จะช่วยทำโดรนสามารถทำความเร็วในการบินได้สูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะมีการผลักดันทำให้เกิดการแข่งขันในการพัฒนาด้านความปลอดภัย และขยายขอบเขตการเพิ่มมูลค่าให้กับประชากรไปยังในชนบท และชานเมือง
คาดว่าการใช้โซลูชันตรวจจับและหลีกเลี่ยง (Detect-and-Avoid: DAA) จะเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน โดรน
การพัฒนาของเทคโนโลยีโดรนจะเป็นการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ และรูปแบบดั้งเดิมของการบินเชิงพาณิชย์ และการโจมตีทางยุทธวิธี
ขนาดตลาดโดรนคาดว่าจะเติบโตในหลายๆ ส่วน รวมถึงฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการต่างๆ
คาดว่าการใช้โดรนจะขยายขอบเขตไปในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการเกษตร การก่อสร้าง การประกันภัย และโลจิสติกส์ เป็นต้น
ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของโดรนจะนำไปสู่การพัฒนากฎระเบียบ และนโยบายโดรนใหม่เพื่อความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว
การใช้โดรนสำหรับการขนส่ง การนำเสนอข่าว และปฏิบัติการกู้ภัยคาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในปี 2566
อ้างอิง
https://www.insiderintelligence.com/insights/drone-industry-analysis-market-trends-growth-forecasts/
Comments