top of page
Writer's pictureSathaworn

การปฏิบัติการที่ดีทางธุรกิจ (Business Good Practices)

Updated: Aug 1

ธรรมาภิบาล (Good Governance) คืออะไร


ธรรมาภิบาล หรือ Good Corporate Governance (เรียกสั้นๆ ว่า CG) เกี่ยวข้องกับ ทุกระดับ ตั้งเเต่ตัวบุคคล สังคม กิจการ จนถึงระดับประเทศชาติ ในระดับของกิจการ อาจเรียกว่า “บรรษัทภิบาล” ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทยเเปล CG ว่า “การกำกับดูเเล กิจการที่ดี” ระดับภาครัฐ อาจใช้คำว่า “ธรรมรัฐ” หรือ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” ไม่ว่าจะนำ CG ไปใช้ที่ใดหรือในระดับใด เเนวทาง เเละหลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาลดูเหมือนจะคล้ายคลึงกัน คือ การตั้งอยู่ในความถูกต้อง เเละเป็นธรรม เพื่อให้สังคมชุมชนก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข


“ระบบที่จัดให้มีโครงสร้าง และกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ และผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ความเจริญเติบโต และเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นประกอบ”


Non-Market Forces Driven Strategy

Non-market forces มีผลต่อความยั่งยืน และ Performance มากกว่า Market Forces คือ ทำผิดไม่บ่อย แต่ผิดแล้วถึงขั้นปิดโรงงานได้เลย เช่น คุณทำผิดกฎหมาย อาจถึงขั้นปิดโรงงาน Non-market forces ประกอบด้วย Regulators, Employees/Communities, Investors/Shareholders, NGOs/Activists, Customers (Stakeholders อื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเรา) ได้แก่

  1. Regulator – สายการบินทยอยเลิกใช้ Boeing737 Max ไม่ผ่านมาตรฐาน Safety ก็ต้องหยุดบินทั่วโลก

  2. Employee - Uber – CEO เรื่อง Sexual Harassment ในที่ทำงาน ปกปิดข้อมูล สุดท้าย ลาออก

  3. Community - สารตะกั่วในลำน้ำที่กาญจนบุรี

  4. Shareholder - WeWork – Startup ทำ Working Space ที่เป็น Unicorn Softbank ลงทุน ที่กำลังจะเปิด IPO ในตลาดหลักทรัพย์ แต่มีกรณีอื้อฉาว ที่เอาเงินไปซื้อเครื่องบิน Jet ส่วนตัว หลบเลี่ยงภาษี ออกกฎแต่งตั้งผู้บริหารเอง

  5. Activist - Exxon ถูกกล่าวหาว่าบิดเบือนข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย NGO


ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมีทั้งภายใน และภายนอกองค์กร โดยกลุ่มหลักประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น (Shareholder) ซึ่งแต่งตั้ง คณะกรรมการ (Board) เข้ามาทำหน้าที่ควบคุม และกำกับดูแลการทำงานของ ฝ่ายจัดการ (Management) ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงคณะกรรมการยังต้องทำหน้าที่สานประโยชน์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และให้เกิดความสมดุล ดังนั้นนอกจากบริษัทควรเข้าใจความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีความแตกต่างกันแล้ว ยังต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของแต่ละกลุ่มในระบบการกำกับดูแลกิจการไว้อย่างชัดเจน และอย่างมีจริยธรรม รวมถึงสอดคล้องตามที่กฏหมายกำหนดและตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีด้วย


Trade-off Strategy

Shareholder Capitalism มุ่งสร้างผลตอบแทน (กำไร) ให้ผู้ถือหุ้น (ถ้าขาดทุนต่อเนื่อง ก็ไม่ต้องพูดอะไรกันต่อ) ในขณะที่ Stakeholder Capitalism มุ่งสร้างผลตอบแทน (Value) ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร


ดังนั้น การบริหารในยุคใหม่ จำเป็นต้องนำ Non-market forces เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Strategy ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรโดยรวม โดยนำเข้ามาพิจารณาตั้งแต่ในช่วงการจัดทำกลยุทธ์ และจัดลำดับความสำคัญของ Value ต่างๆ อย่างเหมาะสม แล้วจึงนำกลยุทธ์ที่ได้ไปดำเนินการ


Governance VS Management

Governance

Management

  • Set norms, strategic vision, and direction and formulate high-level goals and policies

  • Oversee management and organizational performance to ensure that the organization is working in the best interests of the stakeholders and, more specifically, the members who serve the organization’s mission.

  • Direct and oversee the management to ensure that the organization is achieving the desired outcomes and to ensure that the organization is acting prudently, ethically, and legally

  • Run the organization in line with the broad goals and direction set by the governing body.

  • Implement the decisions within the context of the mission and strategic vision.

  • Make operational decisions and policies, and keep the governance bodies informed and educated.

  • Be responsive to requests for additional information.

หลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาล (Good Governance)

  1. ความเป็นอิสระ (Independence) คือการที่องค์กรนายจ้าง และสมาชิกธุรกิจ (Business Member Organizations: EBMO) ต้องไม่มีการขึ้นตรงต่อรัฐบาล หรือกลุ่มผลประโยชน์ใด ๆ ไม่เข้าข้าง ไม่เกี่ยวข้องทางการเมือง การเงินมีอิสระ และต้องมีการสนับสนุนจากสมาชิกที่หลากหลาย ครอบคลุม และสมดุล

  2. ความชัดเจน (Clarity) คือความชัดเจนในการป้องกันการใช้อำนาจที่อาจนำไปสู่การกระทำที่ไม่เหมาะสม อาจดำเนินการด้วยการที่มีเอกสารการก่อตั้งที่ทันสมัย การแก้ไขข้อพิพาทอย่างโปร่างใส มีการตั้งกลไกราคา และการบังคับใช้ที่เหมาะสม มีขั้นตอนการเลือกตั้ง และการดำรงตำแหน่งที่เป็นลายลักษณ์อักษร

  3. ความโปร่งใส (Transparency) คือความโปร่งใสในการต่อสู้กับการทุจริต และการตรวจสอบได้ เช่น การเป็นตัวอย่างที่ดีของธรรมาภิบาล สนับสนุนการใช้จรรยาบรรณ (Code of Ethics) ในการบริหาร และการทำงาน


การกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นไปเพื่อสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนแล้ว คณะกรรมการควรกำกับดูแลกิจการให้นำไปสู่ผล (Governance Outcome) อย่างน้อย ดังนี้

  1. สามารถแข่งขัน และมีผลประกอบการที่ดี โดยคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว

  2. ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิ และมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย

  3. เป็นประโยชน์ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม

  4. สามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง (Corporate Resilience)

กลต

จากพื้นฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ประกอบด้วย Indenpendence, Clarity, Transparency สามารนำมาต่อยอดได้เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการกำกับดูแลกิจการ ได้ดังนี้

  1. Integrity: การบริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต น่าเชื่อถือ และยึดมั่นในความถูกต้อง

  2. Fairness: การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม

  3. Transparency: การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้

  4. Responsibility: การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ

  5. Accountability: การรับผิด และรับชอบต่อการกระทำที่เกิดขึ้น โดยสามารถชี้แจง และอธิบายได้



CG Code (Code Governance Code) หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดย กลต

  1. ตระหนักถึงบทบาท และความรับผิดชอบในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน

  2. กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน

  3. เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล

  4. สรรหา และพัฒนาผู้บริหารระดับสูง และการบริหารบุคลากร

  5. ส่งเสริมนวัตกรรม และการประกอบธุรกิจอย่างมีความารับผิดชอบ

  6. ดูแลให้มีระบบควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม

  7. รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงิน และการเปิดเผยข้อมูล

  8. สนับสนุนการมีส่วนร่วม และการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น

  9. ตระหนักถึงบทบาท และความรับผิดชอบในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน



การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)

การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับธรรมาภิบาล (Good Corporate Governance) เนื่องจากทั้งสองแนวคิดมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างความน่าเชื่อถือ และความโปร่งใส โดยการจัดการความเสี่ยงช่วยให้องค์กรสามารถระบุ และประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง และจัดทำแผนการจัดการเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง ซึ่งช่วยให้มีข้อมูลที่เชื่อถือได้สำหรับการตัดสินใจและการรายงานต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


นอกจากนี้ การจัดการความเสี่ยงรวมถึงการตรวจสอบ และควบคุมภายในเพื่อป้องกันการทุจริต และการกระทำผิดภายในองค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน


ลักษณะของการจัดการความเสี่ยง

  1. ลดความไม่แน่นอนของการพยากรณ์ และเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งส่งผลให้บริษัทที่สามารถจัดการความเสี่ยงได้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน

  2. การจัดการความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ เป็นกระบวนการในการระบุ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในทุกส่วนของกลยุทธ์ การจัดการความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของการจัดการความเสี่ยงขององค์กร

  3. การจัดการความเสี่ยงจะได้ผลก็ต่อเมื่อองค์กรกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้หรือ "ความเสี่ยงที่ยอมรับได้" เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

  4. วิกฤตทางการเงิน และเศรษฐกิจในปัจจุบันได้สร้างแรงกดดันอย่างมากต่อการจัดการทางการเงิน ซึ่งความท้าทายสำคัญขององค์กรคือการเสริมสร้างการจัดการความเสี่ยง และการกำกับดูแลองค์กร

  5. ความเสี่ยงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risks) และความเสี่ยงในระดับกระบวนการ (Process-Level Risks)


General risk management models

COSO (Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission) คือองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1985 เพื่อสนับสนุนการรายงานทางการเงินที่มีคุณภาพ และการจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อปรับปรุงระบบควบคุมภายในในองค์กรต่างๆ COSO ได้พัฒนากรอบการจัดการความเสี่ยง และควบคุมภายใน ซึ่งใช้เป็นแนวทางสำหรับองค์กรในการสร้างและประเมินระบบการควบคุมภายใน


กรอบการทำงานของ COSO ที่รู้จักกันดีคือ COSO Internal Control - Integrated Framework และ COSO Enterprise Risk Management (ERM) - Integrated Framework ซึ่งใช้ในการระบุ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงภายในองค์กร โดยมุ่งเน้นให้มีการรายงานทางการเงินที่ถูกต้องแม่นยำ มีการควบคุมภายในที่เข้มงวด และการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ


ERM ประกอบด้วย 8 ส่วนหลัก ได้แก่

  1. สภาพแวดล้อมภายใน (Internal environment)

  2. การตั้งวัตถุประสงค์ (Objective setting)

  3. การระบุเหตุการณ์ (Event identification)

  4. การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)

  5. การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response)

  6. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)

  7. ข้อมูลและการสื่อสาร (Information and Communication)

  8. การติดตามผล (Monitoring)


Internal Control System (ICS)

ระบบควบคุมภายใน (Internal Control System: ICS) เป็นกระบวนการที่ออกแบบโดยผู้บริหาร และคณะกรรมการขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ประกอบด้วยการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การปฏิบัติงาน การรายงานทางการเงิน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ มีหน้าที่หลักดังนี้:

  1. เพิ่มความน่าเชื่อถือและความครบถ้วนของการบัญชีและการรายงานทางการเงินภายนอก: เพื่อป้องกันและตรวจจับข้อผิดพลาดและการทุจริตในการบัญชีและการรายงานทางการเงิน

  2. การบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ: ผ่านการจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  3. การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ: เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

  4. การป้องกันทรัพย์สินของธุรกิจ: เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินขององค์กรจากการสูญหาย การโจรกรรม หรือความเสียหาย

  5. การป้องกัน ลด และตรวจจับข้อผิดพลาดและความผิดปกติ: เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและตรวจจับข้อผิดพลาดต่าง ๆ อย่างทันท่วงที

  6. ความน่าเชื่อถือและความครบถ้วนของการบัญชี: เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลทางการเงินถูกต้องและครบถ้วน

  7. การรายงานทางการเงินที่ทันท่วงทีและน่าเชื่อถือ: เพื่อให้ข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องและทันเวลาในการตัดสินใจทางธุรกิจ


ถ้าองค์กรมีความอ่อนแอในระบบ ICS จะส่งผลให้เกิด

  1. การหยุดชะงักทางธุรกิจ: เกิดจากระบบล่ม หรือภัยพิบัติ และการทำงานซ้ำซ้อน

  2. การตัดสินใจของผู้บริหารที่ผิดพลาด: อันเนื่องมาจากข้อมูลที่ผิดพลาด ไม่เพียงพอ หรือทำให้เข้าใจผิด

  3. การทุจริต ยักยอก และการโจรกรรม: โดยผู้บริหาร พนักงาน ลูกค้า ผู้ขาย หรือประชาชนทั่วไป

  4. การลงโทษตามกฎหมาย: บทลงโทษที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและการละเมิดที่ชัดเจน

  5. ต้นทุนที่เกินความจำเป็น/รายได้ที่ไม่เพียงพอ: ค่าใช้จ่ายที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และการสูญเสียรายได้ที่องค์กรควรได้รับ

  6. การสูญเสีย การใช้ผิด หรือการทำลายสินทรัพย์: การสูญเสียสินทรัพย์ทางกายภาพ เช่น เงินสด สินค้าคงคลัง และอุปกรณ์โดยไม่ตั้งใจ


การมองหาการควบคุมที่มีประสิทธิภาพควรพิจารณาว่า การมีการควบคุมที่มากขึ้นไม่จำเป็นต้องดีกว่าเสมอไป ตัวอย่างเช่น การควบคุมที่ไม่ทำงานร่วมกัน การควบคุมที่ซ้ำซ้อนหรือไม่มีประสิทธิภาพ การควบคุมที่ซับซ้อนและนำไปใช้ไม่ดีอาจทำให้การควบคุมไม่ถูกนำไปใช้สม่ำเสมอและเข้าใจผิด การควบคุมมีค่าใช้จ่าย และการซ้ำซ้อนของการควบคุมที่ไม่มีประสิทธิภาพจะไม่ให้ประโยชน์


กรอบการควบคุมภายในของคณะกรรมการองค์กรผู้สนับสนุน (COSO) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก:

1. การติดตามผล (Monitoring): กระบวนการในการติดตาม และประเมินผลการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment): การระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร และการกำหนดมาตรการในการจัดการความเสี่ยง

3. ข้อมูลและการสื่อสาร (Information & Communication): การสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสำคัญต่อการควบคุมภายในระหว่างผู้บริหารและพนักงาน รวมถึงการรายงานข้อมูลทางการเงินและการดำเนินงาน

4. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities): การดำเนินการต่าง ๆ ที่ช่วยลดหรือป้องกันความเสี่ยง เช่น การอนุมัติ การตรวจสอบ การแบ่งแยกหน้าที่ และการกำกับดูแล

5. สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment): บรรยากาศ และวัฒนธรรมขององค์กรที่ส่งเสริมการควบคุมภายใน รวมถึงจริยธรรม ค่านิยม และความรับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงาน


Cost and Benefits of Risk Management

แหล่งที่มาของความเสี่ยงในระดับเศรษฐศาสตร์จุลภาค (Sources of Microeconomic Risks)

  1. ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk/Operating Risk): ประกอบด้วยแหล่งที่มาของความเสี่ยงทางเทคโนโลยี การกระจายสินค้า และข้อมูล ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้มีผลต่อการวางตำแหน่งทางการแข่งขันของบริษัท

  2. ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk): รวมถึงปัจจัยมหภาคทั้งหมดที่มีผลกระทบต่อบริษัท ซึ่งสามารถเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการเมืองในระดับภายในประเทศหรือต่างประเทศ

  3. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk): เกิดขึ้นในระยะสั้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ไม่พึงประสงค์ (เช่น อัตราการเช่าเครื่องบิน), ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช่น เชื้อเพลิงเครื่องบิน), ราคาหุ้น (การพัฒนาราคาหุ้น, มูลค่าของทุนของตัวเอง), และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

  4. ความเสี่ยงเชิงโครงสร้าง (Structural Risk): เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงภายในบริษัทในระดับชั้นต่างๆ (เช่น นักบิน ผู้บริหาร นักเทคโนโลยี ฯลฯ)

  5. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง (Risk of Change): เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในบริษัท

  6. ความเสี่ยงเชิงระบบ (Systemic Risk): ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในเครือข่ายที่อาจเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ


Risk Management Phrases

Phase 1: วางแผน และดำเนินการโครงการจัดการความเสี่ยง (Planning and implementation of the risk project)

Phase 2: รวบรวมความเสี่ยง และทำการประเมิน (Risk collection and assessment)

Phase 3: การลดระดับความเสี่ยง (Risk mitigation) โดยการการสอบสวน การกำหนด และการบันทึกข้อมูลความเสี่ยง

Phase 4: การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Continuous improvement and change management)  รวมถึงการตรวจสอบภายในและภายนอก และการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย

  • Internal

    • ขอให้พนักงานทุกคนรายงานความเสี่ยงที่พบ

    • ส่งแบบสอบถามให้พนักงานทุกคนเป็นประจำเพื่อติดตามความเสี่ยงและสร้างรายการความเสี่ยง

  • External มักจะว่าจ้างที่ปรึกษาการจัดการความเสี่ยงจากภายนอก


บทบาทสำคัญของการจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน (Operational Risk Management: ORM) ) ในระบบการจัดการความปลอดภัย (Safety Management Systems: SMS)


การจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน (Operational Risk Management) เป็นส่วนสำคัญของระบบการจัดการความปลอดภัย (Safety Management System) ซึ่งต้องมีการอธิบายเพิ่มเติม ดังนี้:


  1. การระบุอันตราย (Hazard Identification): เป็นกิจกรรมพื้นฐานภายในระบบการจัดการความปลอดภัย ทุกการวิเคราะห์ความเสี่ยงเริ่มต้นด้วยกระบวนการระบุอันตราย เป้าหมายคือการระบุเงื่อนไขใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อบุคลากร ความเสียหายต่ออุปกรณ์หรือโครงสร้าง การสูญเสียวัสดุ หรือการลดความสามารถในการดำเนินการตามที่กำหนด กระบวนการนี้ดำเนินการเพื่อระบุอันตรายในระบบองค์กรและสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทเพื่อช่วยในการควบคุมอันตรายเหล่านี้ สามารถดำเนินการได้ผ่านเครื่องมือการรายงานภายในเช่น การตรวจสอบข้อมูลการบิน ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบกระบวนการที่กำหนดไว้สำหรับการดำเนินงานเฉพาะและกระบวนการทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การประเมินการทำงานและกระบวนการอย่างต่อเนื่องต้องดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยนที่ช่วยสนับสนุนการจัดการความปลอดภัยเชิงรุก กระบวนการหลักในการจัดการความปลอดภัยคือการประเมินความปลอดภัยเป็นประจำ ซึ่งติดตามแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงทันทีเพื่อให้ข้อมูลสำคัญในการรักษาสุขภาพความปลอดภัยของระบบ

  2. องค์ประกอบของอันตราย: ได้แก่ การออกแบบอุปกรณ์หรือภารกิจ ขั้นตอนและแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน การสื่อสาร ปัจจัยมนุษย์ องค์กร และสภาพแวดล้อมการทำงาน

  3. การจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน: เป็นการระบุ วิเคราะห์ และกำจัดอันตรายเหล่านั้น รวมถึงความเสี่ยงที่ตามมา ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความมีชีวิตรอดขององค์กร


การจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติงานต้องมีการประเมินและติดตามผลการดำเนินงานและกระบวนการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการจัดการความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ



15 views0 comments

Comments


bottom of page